ไขความลับสู่ความอ่อนเยาว์ ด้วยการพัฒนาดีเอ็นเอ ส่วน TELOMERE เทโลเมียร์

TELOMERE เทโลเมียร์ ไขความลับความอ่อนเยาว์ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อน เทโลเมียร์ คือ ดีเอ็นเอที่อยู่บริเวณปลายสุดของโครโมโซม มีหน้าที่สำคัญในการปกป้องโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลาย หากเปรียบเทียบโครโมโซมเป็นเหมือนเชือกรองเท้า เทโลเมียร์ก็เปรียบได้กับปลอกหุ้มปลายเชือกรองเท้าชิ้นเล็ก ๆ ที่ป้องกันไม่ให้เชือกหลุดรุ่ยเสียหายนั่นเอง ในแต่ละครั้งที่มีการจำลองโครโมโซมขึ้นมาใหม่ตามขั้นตอนในกระบวนการแบ่งเซลล์ของร่างกาย ความยาวของเทโลเมียร์จะหดสั้นลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่เทโลเมียร์เหลือความยาวอยู่น้อยมาก เซลล์จะไม่สามารถแบ่งตัวได้อีกต่อไป จึงเกิดการเสื่อมสภาพ และตายลงในที่สุด งานวิจัยนี้เกือบ 100 เรื่องแสดงให้เห็นว่า เทโลเมียร์ที่สั้น มีความสัมพันธ์กับโรคหลายชนิด ดังนั้นความยาวของเทโลเมียร์จึงเป็นตัวบ่งบอกถึงอายุขัยของเซลล์และเป็นตัวชี้วัดอายุร่างกายได้ นอกจากนี้การวิจัยในปัจจุบันยังแสดงให้เห็นว่าเทโลเมียร์ที่สั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังและโรคจากความเสื่อมหลายอย่าง อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลงมีอะไรบ้าง? เมื่ออายุมากขึ้นเทโลเมียร์จะสั้นลงตามกลไกการแบ่งเซลล์ปกติของร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นการหดสั้นลงที่เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ ปัจจัยเหล่านี้นับเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลงเร็วกว่าปกติ ความเสื่อมจึงมาเยือนเราเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปแบบของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ทั้งที่อายุยังไม่มาก หรือการมีรูปร่างหน้าตาและผิวพรรณที่ดูแก่กว่าวัย เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ ความเครียดเนื่องจากความเครียดสัมพันธ์ต่อการหลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid Hormone) จากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนนี้ทำให้ระดับของสารต้านอนุมูลอิสระลดลง จึงเพิ่มอนุมูลอิสระไปทำลายดีเอ็นเอมากขึ้น และเร่งการหดตัวของเทโลเมียร์ การสูบบุหรี่มีงานวิจัยชี้ว่ายิ่งปริมาณการสูบบุหรี่มากยิ่งทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลงมากขึ้น โดยหากสูบบุหรี่วันละ 1 […]